วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2560

กู่ประภาชัย


กู่ประภาชัย หรือบางคนเรียกว่ากู่บ้านนาคำน้อย ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านนาคำน้อย หมู่1,15 ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น อยู่ห่างจากจังหวัดขอนแก่น ประมาณ 57 กิโลเมตร การเดินทางไปตามเส้นทางเดียวกันกับพระธาตุขามแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยตรงต่อไปก่อนถึงสะพานส่งน้ำจากลำพองเลี้ยวซ้ายตามถนนราดยางเรียบตามคลองชลประทานแล้วเลี้ยวขวาสะพานเข้าหมู่บ้านนาคำน้อย เป็นสถาปัตยกรรมของขอม ก่อสร้างด้วยศิลาแลงและหินทรายสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่7 แห่งอาณาจักรเขมรโบราณประมาณพุทธศตวรรษที่18 พศ1720-1780 สภาพปัจจุบันสลักหักพังลงมากแต่ได้รับการดูแลรักษาจากวัดและชุมชนเป็นอย่างดีไปสถานที่น่าศึกษาและสักการะบูชามีพระพุทธรูปประดิษย์สฐานไว้ มีหินก้อนใหญ่ที่ว่าเป็นหินศักดิ์สิทธิ์วางไว้บนแท่นที่ทำขึ้นใหม่เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมาสักการะบูชา

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

ประวัติอำเภอน้ำพอง


อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เดิมเป็นหนึ่งในห้าอำเภอของเมืองขอนแก่นในอดีต คืออำเภอเมือง อำเภอน้ำพอง อำเภอชนบท อำเภอภูเวียง และอำเภอพล เป็นอำเภอที่สำคัญในด้านทิศเหนือของตัวจังหวัดขอนแก่น มีแม่น้ำพองไหลผ่าน ถือเป็นสายเลือดที่หล่อเลี้ยงชาวน้ำพองในการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม  ในอดีตมีการการคมนาคมที่ขนส่งสินค้าตามลำน้ำพอง บริเวณท่าหว้า  หมู่ที่ ๓ ตำบลน้ำพอง
เมื่อวันที่  ๑๐ กุมภาพันธ์  ๒๔๕๐  ทางราชการได้ตั้งอำเภอขึ้นโดยแรกเริ่มใช้ชื่อว่า "อำเภอท่าหว้า"  มี หลวงผดุงแคว้นประจันทร์ เป็นนายอำเภอคนแรก ต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น"อำเภอน้ำพอง"  ตามสถานที่สำคัญคือแม่น้ำพอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นมา
ทีว่าการอำเภอน้ำพองหลังแรก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ สายขอนแก่น-อุดรธานี ตรงบริเวณตลาดเทศบาลตำบลน้ำพอง ตำบลน้ำพอง ในปัจจุบัน ในขณะเมื่อเริ่มตั้งอำเภอมีอาณาเขตกว้างใหญ่ ทิศเหนือจดเขตอำเภอกุมภวาปี  จังหวัดอุดรธานี ทิศใต้จดอำเภอเมืองขอนแก่น ทิศตะวันออกจดเขตอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ และอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม  ทิศตะวันตกจดอำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดหนองบัวลำภู) ต่อมาทางราชการได้แบ่งพื้นที่อำเภอน้ำพองออกไปตั้งเป็นอำเภอใหม่ ได้แก่อำเภอกระนวน  อำเภอเขาสวนกวาง อำเภออุบลรัคน์ ตามลำดับ
ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๗๘ - ๒๔๘๒ สมัยหลวงศรีนครานุรักษ์เป็นนายอำเภอ ได้พิจารณาเห็นว่าที่ตั้งสถานที่ราชการคับแคบไม่มีทางที่จะขยายได้ ทั้งสถานที่ราชการและบ้านพักราชการชำรุดทรุดโทรม ประกอบกับมีที่ตั้งที่เหมาะสมแก่การบริหารราชการ ใกล้ ๆ  สถานีรถไฟหนองกุง(สถานีรถไฟน้ำพองในปัจจุบัน) เพื่อสะดวกในการติดต่อราชการกับจังหวัดและอำเภออื่น ๆ ควรที่จะมีการย้ายที่ว่าการอำเภอ แต่กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าทางรถไฟยังไม่เสร็จเรียบร้อย  จึงให้ระงับการย้ายที่ว่าการอำเภอไว้ก่อน
ต่อมาปี พศ.๒๔๘๙ ร.ต.ท.มุข  ประเสริฐวงษ์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งนายอำเภอน้ำพอง ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งใกล้ ๆ สถานีรถไฟดังกล่าว กระทรวงมหาดไทยจึงอนุมัติให้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งใกล้กับสถานีรถไฟหนองกุง ตำบลวังชัย(ในขณะนั้น) ตามหนังสือจังหวัดขอนแก่น ที่ ๗๙๑๒/๒๔๙๐ ลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๔๙๐ และตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ ๑๒๓๐๘/๒๔๙๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๔๙๐ โดยมีราษฎรบริจาคที่ดินสำหรับใช้เป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอจำนวน ๙ คน คือ นายสิม ชุมแวงวาปี, นายอุย คำเพิง, นายบวร แก่นโพธิ์, นายหนู ใบลาด, นายไสย อาสนะ, นายพิมพ์ มะหันต์, นายเพ็ง บุษราคัม, นายปิยะ ชุมแวงวาปี, นายผา เวศราหาร รวมเนื้อที่ ๑๗-๐-๙๖ ตารางวา อาคารทีว่าการอำเภอหลังที่สองได้สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่  ๑๓ สิงหาคม ๒๔๙๓ ส่วนราชการต่างๆ ได้เปิดให้บริการประชาชนเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๔๙๓ มีข้าหลวงตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ภาค ๔ เป็นประธานในพิธีเปิดอาคารที่ว่าการอำเภอเมื่อวันที่  ๑๒ มกราคม ๒๔๙๕
ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ ในสมัยนายสุนัยน์  หิริญ เป็นนายอำเภอน้ำพอง กรมการปกครองได้จัดสรรงบประมาณจำนวน ๖,๕๙๔,๕๓๑ บาท เพื่อก่อสร้างทีว่าการอำเภอหลังใหม่ โดยก่อสร้างแล้วเสร็จและใช้เป็นศูนย์ราชการเพื่อบริการประชาชน ตั้งแต่วันที ๒ มิถุนายน ๒๕๔๐ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

พลับพลาพิธีส่งเสด็จสู่สวรรค์คาลัย ชาวอำเภอน้ำพองพร้อมใจสามัคคีมาร่วมมือกันพร้อมใจกันส่งเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสู่สวรรค์คาลัย น้อมรำ...