วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560

พลับพลาพิธีส่งเสด็จสู่สวรรค์คาลัย
ชาวอำเภอน้ำพองพร้อมใจสามัคคีมาร่วมมือกันพร้อมใจกันส่งเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสู่สวรรค์คาลัย น้อมรำลึกสำนึกถึงในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ด้วยใจรักของชาวอำเภอน้ำพอง 
ณ เวลา ๒๒.๐๐น.
วันพฤหัสบดี ที่ ๒๖ เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๐
#ส่งพ่อกลับสวรรค์




วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ชาวอำเภอน้ำพองเตรียมรับมือน้ำท่วม


เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 15 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เขื่อนอุบลรัตน์ เพิ่มการระบายน้ำขึ้นเป็น 46 ล้าน ลบ.เมตร ตามแผนการระบายน้ำแบบขั้นบันได วันนี้เป็นวันแรก โดยที่ในขณะนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์มีจำนวน 2,843 ล้าน ลบ.เมตร หรือร้อยละ 116 ของความจุอ่าง ขณะที่ในวันพรุ่งนี้ (16 ต.ค.) จะทำการระบายน้ำเป็น 50 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งจากการระบายน้ำดังกล่าวได้ส่งผลกระทบกับประชาชนที่อาศัยอยู่ตามเส้ยทางน้ำและพื้นที่ทางตอนท้ายของเขื่อนแล้ว ขณะเดียวกันเมื่อมีการเร่งระบายน้ำเพิ่มขึ้นทุกวันทำให้น้ำท่วมขยายวงกว้างออกไปอย่างรวดเร็ว
นายวินัย ทองทัพ กำนัน ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในแม่น้ำพองและแม่น้ำชี ได้เพิ้มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกชั่วโมง โดยเฉพาะน้ำจากแม่น้ำพองได้เอ่อล้นเข้าลำห้วยพระคือและทะลักเข้าท่วมหมู่บ้านบ้านผือ ต.พระลับ บ้านปากเปือย บ้านคุยโพธิ์ และ บ้านบึงเนียม ต.บึงเนียม อ.เมืองขอนแก่น โดยเฉพาะ บ.ผืด ที่ระดับน้ำได้ขยายวงกวางเข้าท่วมบ้านเรือนของประชาชนแล้วรวม 150 หลังคาเรือน และยังคงไหลท่วมนาข้าวที่กำลังตั้งท้องจำนวนกว่า 5,000 ไร่ อีกด้วย
“ก่อนหน้าที่ทางเขื่อนจะเพิ่มการระบายน้ำ ทางจังหวัดได้ประกาศเตือนให้ประชาชนได้ทราบล่วงหน้าแล้ว เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมความพร้อมในการขนย้ายข้าวของขึ้นสู่ที่สูง อย่างไรก็ตามทางตำบลได้ประสานงานร่วมกับทางอำเภอในการตั้งจุดอพยพเพื่ออพยพประชาชนที่ประสบปัญาอุทกภัยและได้รับความเดือดร้อนมาพักอาศัยในพื้นที่ที่ปลอดภัย รวมทั้งการขัดตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็วให้การช่วยเหลือประชาชนตลอดทั้ง 24 ชม.อย่างเต็มที่อีกด้วย”

วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560

โรงเรียนน้ำพองศึกษา

โรงเรียนน้ำพองศึกษา และเดิมทีเคยเป็นโรงเรียนที่อดีตโค้ชทีมชาติไทยอย่าง ซิคโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เคยศึกษา ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 900 หมู่ 10 ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2509
เดิมชื่อ “โรงเรียนน้ำพอง(มัธยมวิสามัญ)” สังกัดแผนโรงเรียนส่วนภูมิภาค กองโรงเรียนรัฐบาล กรมวิสามัญ กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนชั้น ม.ศ. 1
จำนวน 1 ห้องเรียน ที่ใต้ถุนวัดป่ามหาวันวิหาร มี นายวิทวัส แสงชาติ ศึกษาธิการอำเภอน้ำพอง รักษาการตำแหน่งครูใหญ่
ปัจจุบันมี นายวทัญญู ภูชาดา ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 เป็นผู้บริหารคนที่ 12 ของโรงเรียน มีครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 156 คน เปิดสอน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีนักเรียน จำนวน 2,911 คน ชื่อเสียงและเกียรติประวัติของโรงเรียนน้ำพองศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2509 ถึงปัจจุบันกล่าว โดยสังเขปได้ดังนี้
พ.ศ. 2509 - สร้างอาคารเรียนในที่ดินหน้าวัดป่ามหาวันวิหารจำนวน 1 หลัง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้ง โรงเรียนบ้านวังเกิ้ง) โดยมีนายสมนึก อุปาละ เป็นครูใหญ่
พ.ศ. 2514 - สร้างอาคารเรียนถาวร (อาคาร1) ในที่ดินราชพัสดุหลังที่ว่าการอำเภอน้ำพองและย้ายสถานที่ตั้งโรงเรียนมายังที่ตั้งปัจจุบันนี้
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2514
พ.ศ.2527 - รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษารุ่นแรก
พ.ศ.2534 - ได้รับการประกาศเกียรติคุณ เข้ารับ พระราชทาน เกียรติบัตร “โรงเรียนพัฒนาห้องสมุด ตามนโยบาย กรมสามัญศึกษา ดีเด่น
ประจำปี พ.ศ. 2534 ”
พ.ศ. 2537 - เปิดหลักสูตร ปวช. แผนกพาณิชยกรรม
พ.ศ. 2538 - ชนะเลิศการจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน
- โรงเรียนดีเด่นมาตรฐานเหรียญทองการจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมของกรมสามัญศึกษา
พ.ศ. 2539 - นางสาวจิราพร อภิรักษ์มั่นคง ได้รับรางวัล นักเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2540 - รางวัลพระราชทานห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก
- นางสาวพิชญา มาตย์ภูธร ได้รับรางวัลนักเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2542 - รางวัล พระราชทานสถานศึกษาดีเด่น ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2546 - รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน
พ.ศ. 2548 - ได้รับการประเมินและรับรองเป็น “โรงเรียนต้นแบบ ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝัน” จากกระทรวงศึกษาธิการ
- รางวัลโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพดีเด่น ระดับทอง จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ. 2549 - รางวัลโรงเรียนส่งเสริมประชาธิปไตยดีเด่นระดับประเทศ ประจำปี 2548 จากคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตย ในคณะกรรมเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานสร้างเสริมเอกลักษณ์ของชาติ
- รางวัลโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนธรรมศึกษา ลำดับที่ 8 ในภูมิภาค ปี 2549 จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
- นางสาวจิราพรรณ พินิจมนตรี รางวัลพระราชทาน ระดับประเทศการประกวดขับร้อง เพลงกล่อมลูก 4 ภาค
พ.ศ. 2550 - โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ กระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2550
- รางวัลโรงเรียนแห่งการออมดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี 2550
- โรงเรียนผลการปฏิบัติงานสู่ความเป็นเลิศ (School Best Practices) ของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
- รางวัลผู้บริหารที่มีผลการปฏิบัติงานเป็นเลิศ ระดับประเทศ (Best of The Best Practices) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2551 - รางวัล “ โรงเรียนดีเด่นด้านคุณธรรมและจริยธรรม ระดับประเทศ ” ประจำปีการศึกษา 2551 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับ ธนาคารออมสิน ได้รับโล่ และเงินรางวัล จำนวน 100,000 บาท
- รางวัล “ โรงเรียนในฝันที่เป็นเลิศทางด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ” ประจำปีการศึกษา 2551 จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้รับโล่ และเงิน รางวัล จำนวน 100,000 บาท
- รางวัล “ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ดีเยี่ยม ระดับเพชร ประจำปี 2551 ”ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- รางวัลระดับเหรียญทอง ผลงาน “ หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ” (OSOI)
- รางวัลสถานศึกษาบริจาคโลหิตดีเด่น ปีการศึกษา 2551 ของสภากาชาดไทย
ปัจจุบันโรงเรียนน้ำพองศึกษา ได้รับมอบหมายให้เป็นศูนย์พัฒนาการจัดเรียนการสอนในกลุ่มสาระต่าง ๆ ดังนี้
1. ศูนย์พัฒนาการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนในฝัน ศูนย์แม่ข่ายจังหวัดขอนแก่น
2. ศูนย์พัฒนาการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนในฝัน ศูนย์แม่ข่ายจังหวัดขอนแก่น
3. ศูนย์พัฒนาการจัดการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงเรียนในฝัน ศูนย์แม่ข่ายจังหวัดขอนแก่น
4. ศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25


วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2560

กู่ประภาชัย


กู่ประภาชัย หรือบางคนเรียกว่ากู่บ้านนาคำน้อย ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านนาคำน้อย หมู่1,15 ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น อยู่ห่างจากจังหวัดขอนแก่น ประมาณ 57 กิโลเมตร การเดินทางไปตามเส้นทางเดียวกันกับพระธาตุขามแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยตรงต่อไปก่อนถึงสะพานส่งน้ำจากลำพองเลี้ยวซ้ายตามถนนราดยางเรียบตามคลองชลประทานแล้วเลี้ยวขวาสะพานเข้าหมู่บ้านนาคำน้อย เป็นสถาปัตยกรรมของขอม ก่อสร้างด้วยศิลาแลงและหินทรายสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่7 แห่งอาณาจักรเขมรโบราณประมาณพุทธศตวรรษที่18 พศ1720-1780 สภาพปัจจุบันสลักหักพังลงมากแต่ได้รับการดูแลรักษาจากวัดและชุมชนเป็นอย่างดีไปสถานที่น่าศึกษาและสักการะบูชามีพระพุทธรูปประดิษย์สฐานไว้ มีหินก้อนใหญ่ที่ว่าเป็นหินศักดิ์สิทธิ์วางไว้บนแท่นที่ทำขึ้นใหม่เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมาสักการะบูชา

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

ประวัติอำเภอน้ำพอง


อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เดิมเป็นหนึ่งในห้าอำเภอของเมืองขอนแก่นในอดีต คืออำเภอเมือง อำเภอน้ำพอง อำเภอชนบท อำเภอภูเวียง และอำเภอพล เป็นอำเภอที่สำคัญในด้านทิศเหนือของตัวจังหวัดขอนแก่น มีแม่น้ำพองไหลผ่าน ถือเป็นสายเลือดที่หล่อเลี้ยงชาวน้ำพองในการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม  ในอดีตมีการการคมนาคมที่ขนส่งสินค้าตามลำน้ำพอง บริเวณท่าหว้า  หมู่ที่ ๓ ตำบลน้ำพอง
เมื่อวันที่  ๑๐ กุมภาพันธ์  ๒๔๕๐  ทางราชการได้ตั้งอำเภอขึ้นโดยแรกเริ่มใช้ชื่อว่า "อำเภอท่าหว้า"  มี หลวงผดุงแคว้นประจันทร์ เป็นนายอำเภอคนแรก ต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น"อำเภอน้ำพอง"  ตามสถานที่สำคัญคือแม่น้ำพอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นมา
ทีว่าการอำเภอน้ำพองหลังแรก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ สายขอนแก่น-อุดรธานี ตรงบริเวณตลาดเทศบาลตำบลน้ำพอง ตำบลน้ำพอง ในปัจจุบัน ในขณะเมื่อเริ่มตั้งอำเภอมีอาณาเขตกว้างใหญ่ ทิศเหนือจดเขตอำเภอกุมภวาปี  จังหวัดอุดรธานี ทิศใต้จดอำเภอเมืองขอนแก่น ทิศตะวันออกจดเขตอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ และอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม  ทิศตะวันตกจดอำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดหนองบัวลำภู) ต่อมาทางราชการได้แบ่งพื้นที่อำเภอน้ำพองออกไปตั้งเป็นอำเภอใหม่ ได้แก่อำเภอกระนวน  อำเภอเขาสวนกวาง อำเภออุบลรัคน์ ตามลำดับ
ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๗๘ - ๒๔๘๒ สมัยหลวงศรีนครานุรักษ์เป็นนายอำเภอ ได้พิจารณาเห็นว่าที่ตั้งสถานที่ราชการคับแคบไม่มีทางที่จะขยายได้ ทั้งสถานที่ราชการและบ้านพักราชการชำรุดทรุดโทรม ประกอบกับมีที่ตั้งที่เหมาะสมแก่การบริหารราชการ ใกล้ ๆ  สถานีรถไฟหนองกุง(สถานีรถไฟน้ำพองในปัจจุบัน) เพื่อสะดวกในการติดต่อราชการกับจังหวัดและอำเภออื่น ๆ ควรที่จะมีการย้ายที่ว่าการอำเภอ แต่กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าทางรถไฟยังไม่เสร็จเรียบร้อย  จึงให้ระงับการย้ายที่ว่าการอำเภอไว้ก่อน
ต่อมาปี พศ.๒๔๘๙ ร.ต.ท.มุข  ประเสริฐวงษ์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งนายอำเภอน้ำพอง ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งใกล้ ๆ สถานีรถไฟดังกล่าว กระทรวงมหาดไทยจึงอนุมัติให้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งใกล้กับสถานีรถไฟหนองกุง ตำบลวังชัย(ในขณะนั้น) ตามหนังสือจังหวัดขอนแก่น ที่ ๗๙๑๒/๒๔๙๐ ลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๔๙๐ และตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ ๑๒๓๐๘/๒๔๙๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๔๙๐ โดยมีราษฎรบริจาคที่ดินสำหรับใช้เป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอจำนวน ๙ คน คือ นายสิม ชุมแวงวาปี, นายอุย คำเพิง, นายบวร แก่นโพธิ์, นายหนู ใบลาด, นายไสย อาสนะ, นายพิมพ์ มะหันต์, นายเพ็ง บุษราคัม, นายปิยะ ชุมแวงวาปี, นายผา เวศราหาร รวมเนื้อที่ ๑๗-๐-๙๖ ตารางวา อาคารทีว่าการอำเภอหลังที่สองได้สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่  ๑๓ สิงหาคม ๒๔๙๓ ส่วนราชการต่างๆ ได้เปิดให้บริการประชาชนเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๔๙๓ มีข้าหลวงตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ภาค ๔ เป็นประธานในพิธีเปิดอาคารที่ว่าการอำเภอเมื่อวันที่  ๑๒ มกราคม ๒๔๙๕
ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ ในสมัยนายสุนัยน์  หิริญ เป็นนายอำเภอน้ำพอง กรมการปกครองได้จัดสรรงบประมาณจำนวน ๖,๕๙๔,๕๓๑ บาท เพื่อก่อสร้างทีว่าการอำเภอหลังใหม่ โดยก่อสร้างแล้วเสร็จและใช้เป็นศูนย์ราชการเพื่อบริการประชาชน ตั้งแต่วันที ๒ มิถุนายน ๒๕๔๐ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

พลับพลาพิธีส่งเสด็จสู่สวรรค์คาลัย ชาวอำเภอน้ำพองพร้อมใจสามัคคีมาร่วมมือกันพร้อมใจกันส่งเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสู่สวรรค์คาลัย น้อมรำ...